fbpx

5 Recruitment Channels
ช่องทางถูก เจอคนที่เก่ง ได้คนที่ใช่!​

อัพเดทล่าสุด : 29 กันยายน, 2565

หากเราเข้าใจว่าช่องทางการหาบุคลากรที่สำคัญหลักๆ มีอะไรบ้าง แต่ละช่องทางโดดเด่นด้านไหนและมีข้อจำกัดอย่างไร ก็สามารถทำให้บริษัทเฟ้นหาคนเก่ง รับพนักงานที่ใช่ได้ไม่ยาก! และนี่คือ 5 ช่องทางการหาบุคลากรที่สำคัญของยุคนี้ ที่เหล่า HR ต้องทำความเข้าใจด้วยประการทั้งปวง!

1. Social Media

 

  • จากผลวิจัย คนไทยใช้เวลาอยู่กับ Social Media มากถึง 3 ชม./วัน
  • กลุ่มผู้ใช้งานที่ใหญ่ที่สุดคือ อายุระหว่าง 25-34 ปี ซึ่งอยู่ในวัยทำงาน
  • Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้งานมากที่สุดกว่า 50 ล้านคน (70% ของประชากรทั้งประเทศ)

 

คงไม่ต้องหาตัวเลขเพื่อมาพิสูจน์ความนิยมของ Social Media อีกต่อไป มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันพวกเราไปแล้ว นี่คือพื้นที่ที่ผู้คนมารวมตัวกัน และเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ HR มีโอกาสสรรหาคนอย่างทั่วถึงครอบคลุมได้มากที่สุด…ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าช่องทางอื่น และสามารถเจาะจงสื่อสารไปยังเฉพาะกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า การ Recruit คนผ่าน Social Media จึงเสมือนการยืงปืนนัดเดียวได้นก (ที่ต้องการ) หลายตัว

 

ทุกวันนี้เราเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่สมัยใหม่ประกาศรับสมัครงานโดยใช้ Social Media เป็นช่องทางหลักด้วยซ้ำ เช่น Uniqlo รับคนในตำแหน่ง UNIQLO Manager Candidate ผ่านการสื่อสารทาง Facebook และด้วยฟีเจอร์มากมายของโซเชียลมีเดียที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภค อาทิเช่น วิดีโอ ซึ่งสามารถถ่ายทอดประสบการณ์บางอย่างที่ช่องทางอื่นทำไม่ได้ อย่างเช่น บรรยากาศสภาพแวดล้อมที่ทำงานของจริง

 

อย่างไรก็ตาม Social Media แต่ละแพลตฟอร์มมีธรรมชาติผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน แพลตฟอร์มที่เน้นคอนเนคชั่นด้านการงานโดยเฉพาะอย่าง LinkedIn มักเป็นที่อยู่ของตลาดแรงงานระดับกลาง-สูงเป็นต้นไป ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย หลายคนถูกรับเลือกจากคอนเนคชั่นผ่านแพลตฟอร์มนี้ ขณะที่การหาบุคลากรตำแหน่งระดับสูงไม่ค่อยได้รับความนิยมใน Facebook นัก การเลือกใช้แพลตฟอร์มที่น่าจะตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่สุดจึงเป็นเรื่องที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย

2. Online Job Board

 

Online Job Board คือเว็บไซต์หางานรายใหญ่ๆ อาทิเช่น JobNOW, JobHACK, Jobsdb, Jobtopgun, หรือ Glassdoor ยังคงเป็นช่องทางหางานหลักที่ตลาดแรงงานไทยเลือกใช้ และคุ้นเคยเป็นอย่างดี ด้วยความน่าเชื่อถือ ใช้งานง่าย และมีบริษัทมากมายมาลงประกาศหางาน ทำให้ Online Job Board หลายแห่งมีผู้ใช้งานที่สูงมาก และเป็นตัวเลือกแรกๆ เวลาใครต้องการจะมองหางานใหม่

 

ทั้งนี้ทั้งนั้น Online Job Board แต่ละแห่งก็มีความเชี่ยวชาญ และเน้นตลาดแรงงานที่แตกต่างกัน อย่างเช่น Jobsugoi คือแหล่งรวมตำแหน่งงานในบริษัทญี่ปุ่นเป็นหลัก, Jobthai เน้นบริษัทในประเทศขนาดเล็ก-กลาง, ขณะที่ GetLinks เน้นบริษัทด้านเทคโนโลยี และ Startup เป็นหลัก ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในความท้าทายของการใช้ช่องทางนี้

 

ยังไม่รวมถึงการที่ HR ต้องใช้เวลา และความพยายามอย่างสูงในการคัดเลือกผู้สมัครที่ส่งเข้ามาในปริมาณมหาศาล (แถมยังต้องแข่งขันกับ HR จากบริษัทชั้นนำอื่นๆ) และไหนจะยังมีต้นทุนค่าใช้จ่าย ในการประกาศรับสมัครงานที่ค่อนข้างสูง ซึ่งยังแฝงมาพร้อมกับปัญหาในการไม่สามารถจัดการสื่อให้เป็นไปตามที่ตนต้องการได้อีกด้วย

3. Job Fair

 

Job Fair มหกรรมหางาน เป็นพื้นที่ที่นำผู้จ้าง และผู้สมัครมาพบเจอกัน เกิดขึ้นได้หลายแบบ ทั้งแบบความร่วมมือจากเครือข่าย เช่น Japan Job Fair มหกรรมจัดหางาน (เข้าบริษัทญี่ปุ่น) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  และที่พวกเราคุ้นเคยกันดีที่สุดคือ งาน Job Fair ตามมหาวิทยาลัย ที่เหล่าองค์กรมาเพื่อเฟ้นหาเด็กจบใหม่เข้าสู่องค์กรของตน

 

Job Fair ส่วนใหญ่มักมีบรรยากาศแบบกึ่งทางการ กลุ่มคนที่มาเดินในงานเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผู้สมัครสามารถพูดคุยสอบถามผู้จ้างงานแบบตัวต่อตัว หากคุยกันถูกคอเข้าตา ก็มีโอกาสสัมภาษณ์เป็นเรื่องเป็นราวทันที (จนไปสู่การรับเข้าทำงานเลยในบางกรณี) Job Fair ยังเป็นโอกาสอันดีในการโปรโมท และสร้างความน่าเชื่อถือแก่บริษัทไปในตัว โดยเฉพาะมหกรรม Job Fair ใหญ่ๆ ประจำปี

 

แต่หากมองในความเป็นจริงแล้วนั้น Job Fair คือการจัดงานที่แต่ละบริษัทต้องแข่งขันกันหน้างานแบบโดยตรง ซึ่งมีรายละเอียดยิบย่อยที่อาจต้องใช้ทรัพยากรเยอะ เช่น บูธบริษัทต้องสวยโดดเด่นดูน่าเชื่อถือ, ความชัดเจนในงานที่เปิดรับสมัคร, การแต่งกายของเจ้าหน้าที่บริษัท, หรือ ทักษะการพูดคุยเจรจา ซึ่งล้วนมีผลต่อประสบการณ์ และการตัดสินใจของผู้สมัครทั้งสิ้น

 

และเป็นช่องทางที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน และเสียทรัพยากรบุคคลและเวลาไปไม่น้อยตลอดวันงาน

4. Referral

 

ช่องทางนี้ถือเป็นช่องทางที่ประหยัดเงิน และทรัพยากรต่างๆ มากที่สุดแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับทุกช่องทางที่ได้กล่าวมา

 

และเป็นช่องทางหาบุลคลากรที่มีความน่าเชื่อถือสูงมาก จากผลการสำรวจ ผู้สมัครที่ถูกแนะนำมาจากพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทนั้น มีแนวโน้มสูงที่จะมีทักษะความสามารถที่ตรงกับตำแหน่ง และสามารถเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ดี (Cultural Compatibility) ส่งผลให้ระดับความพึงพอใจในการทำงานเพิ่มขึ้น และอัตราการลาออกลดลง

 

ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ดี เพราะพนักงานในองค์กรต้องไตร่ตรองอย่างดีเสมอก่อนแนะนำคน ที่สุดท้ายก็ต้องมานั่งทำงานด้วยกันไปอีกนาน ถ้ารับคนนั้นมาแล้วทำงานไม่ดีหรืออยู่ไม่นาน พนักงานคนนั้นที่แนะนำก็เสียชื่อเสียง

 

อย่างไรก็ตาม การแนะนำคนเข้าสู่บริษัทจะต้องระมัดระวังในประเด็นต่างๆ เช่น ความโปร่งใสในการรับคน หรือ อาชีพที่มีความเฉพาะทางสูง ซึ่งพนักงานในบริษัทอาจมีเครือข่ายคนรอบตัวที่ค่อนข้างจำกัด

 

อีกทั้งองค์กรอาจต้องคิดกลยุทธ์ออกแบบโปรแกรมเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานลงมือลงแรงช่วยหา เช่น ผู้ที่แนะนำได้สำเร็จรับรางวัลพิเศษ/เงินรายได้เพิ่ม ซึ่งก็ต้องอาศัยทรัพยากรและความคิดสร้างสรรค์ไม่น้อย

5. Corporate Website

 

Back to basic! ออกไปค้นหาบุคลากรข้างนอกมานาน ถึงเวลากลับสู่พื้นฐานที่สุดนั่นก็คือเว็บไซต์ของบริษัทเราเอง

 

นี่เป็นช่องทางการหาบุคลากรแบบ Passive คือผู้สมัครเป็นฝ่ายเข้าหาตัวบริษัทเอง และมักเป็นผู้สมัครที่มีความสนใจในตัวบริษัทเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงมีโอกาสในการได้คนสูง การสร้างเว็บไซต์ (Career site) เพื่อรับสมัครพนักงาน ที่มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจสำหรับผู้สมัคร และมีดีไซน์หน้าตาเว็บไซต์ที่น่าดึงดูด ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมากไปในตัว

 

ถึงกระนั้นแล้ว ความที่เป็น Passive จึงอาจไม่ใช่ช่องทางรับสมัครงานที่เจาะกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวางนัก การทำให้คนมาสมัครเป็นจำนวนมากจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย และต้องอาศัยกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง

เราจะเห็นว่าแต่ละช่องทางมีข้อดี และข้อจำกัดแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และใช้ทรัพยากรเยอะ แต่มีอยู่วิธีที่สามารถนำข้อมูลมารวมกัน และจัดการได้ในที่เดียว ภายใต้ระบบที่ชื่อว่า “Recruitment Management System” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “RMS”

 

RMS คืออะไร?

 

คือระบบรับสมัครงานแบบครบวงจรที่จบในที่เดียวจากต้นน้ำปลายน้ำ ตั้งแต่เริ่มโพสงานในช่องทางที่หลากหลาย คัดกรองผู้สัมภาษณ์ นัดสัมภาษณ์ วิเคราะห์คุณสมบัติผู้สมัครกับฐานข้อมูลเพื่อหาคนที่ใช่ที่สุด จนไปถึงการรับสมัครบุคลากร

 

ช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก การติดต่อติดตามที่ซับซ้อน หรืองานเอกสารมากมายที่สิ้นเปลืองทรัพยากร และ Win-Win กับทุกฝ่าย ทั้งผู้จ้างงานกับผู้สมัครงาน เพราะหลายขั้นตอนเหล่านี้เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ คือ ไม่จำเป็นต้องใช้คนในการดำเนินการไปเสียหมดทุกขั้นตอน ทุกอย่างถูกรันอยู่ในระบบอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในตัวเอง

 

ตัวอย่าง Features ของ RMS

 

  • Applicant Tracking System (ATS): ติดตามผู้สมัครงาน นัดสัมภาษณ์ และอัพเดทผลลัพธ์ต่างๆ 

  • AI & Machine Learning: ที่เรียนรู้ประวัติการจ้างงานที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่การรับสมัครที่ได้คนที่ใช่มากขึ้น รวมถึงขั้นตอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • Centralized Database: เก็บรายละเอียดประกาศงานและข้อมูลผู้สมัครทุกคน กรณีอนาคตเปิดรับตำแหน่งนี้อีก สามารถมี Talent Pool เฟ้นหาคนที่มีความสนใจในตำแหน่งนี้ได้ง่ายขึ้น

  • Analytics: ระบบวิเคราะห์ว่า แคมเปญหรือโปรเจ็คท์การจ้างงานนั้นๆ มีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร

 

RMS เป็นระบบที่เหล่า HR และผู้ประกอบการยุคใหม่ เริ่มให้ความสนใจ และกำลังหาวิธีประยุกต์ใช้ให้เข้ากับองค์กรของตนอยู่ และเป็นหนึ่งใน Creative Recruitment Techniques ที่ HR ต้องทำความเข้าใจในปี 2020 นี้ ซึ่ง ScoutOut เองถือเป็นหนึ่งในผู้นำที่บุกเบิกเรื่องนี้เป็นเจ้าแรกๆ ในประเทศไทยเช่นกัน

 

เพราะสมรภูมิการเฟ้นหาบุคลากรคนเก่งที่มีพรสวรรค์มีการแข่งขันที่สูงมาก เพราะองค์กรขับเคลื่อนด้วยคน และการได้คนเก่งคุณสมบัติเพียบพร้อมสามารถชี้เป็นชี้ตายอนาคตขององค์กรใดองค์กรหนึ่งได้เลย!

pdpa-image

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นแก่คุณ และเพื่อเสนอเนื้อหา บริการ และโฆษณาที่คุณอาจสนใจ คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เงื่อนไขการใช้บริการ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

“หาคนคุณภาพ” ได้ง่ายๆ
ใน 5 ขั้นตอนกับ

1.เลือกแพ็คเกจตามใจ กดสั่งซื้อ และแจ้งหลักฐานหลังจากชำระเงิน

2. หลังจากแจ้งหลักฐานการชำระเงินแล้ว
สามารถลงทะเบียน สร้างบัญชีกับ ScoutConnect ได้

3. จากนั้นระบบจะดำเนินการตรวจสอบและส่งอีเมล แจ้งอนุมัติบัญชีและการเข้าใช้งานให้ท่านภายใน 1 วันทำการ

4. เข้าสู่ระบบ พร้อมสร้างหน้าประกาศรับสมัครงาน บ่งบอกความเป็นตัวตนขององค์กรได้ง่ายๆ ใน 5 นาที

5. โพสต์งานทันที รอรับพนักงานดีดีทันใจ ผ่าน JobHACK และ jobNOW ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

สอบถามเพิ่มเติม customerservice@scoutout.net