Creative Recruiting Techniques
ที่เหล่า HR กำลังจับตามองในปี 2020
ในปีที่ผ่านมามีการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ทางธุรกิจที่น่าสนใจมากมายที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิเช่น
- มีการคาดการณ์ว่าตลาด AI Chatbot ทั่วโลกจะมีมูลค่าแตะ 37,500 ล้านบาท ภายในปี 2025
- จะมีอาชีพใหม่เกิดขึ้นกว่า 27% ภายในปี 2022
- การหาคนทำงานยุคใหม่ทั่วโลก เริ่มมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ เพื่อหาบุคลากรที่ใช่และลดต้นทุนองค์กร
ความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วในหลากหลายอุตสาหกรรมนี้ ทำให้หลายอาชีพถูก Disrupt จนตกงาน แต่ขณะเดียวกัน ก็เกิดอาชีพและตำแหน่งงานใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการในตลาด อาทิเช่น วิศวกรด้าน AI-machine learning / วิศวกร Cybersecurity / หรือ Developer ด้าน Internet of Things เป็นต้น
คนเก่าถูกทดแทนด้วยคนใหม่ๆ หรือ คนเก่าพัฒนาตัวเองจนนำไปสู่บทบาทใหม่ๆ ยังไม่รวมถึงวัฒนธรรมคนรุ่นใหม่ที่มีทัศนคติไม่ยึดติด หรือจงรักภักดีต่อองค์กร มักเปลี่ยนงานบ่อย ไม่ว่าจะเพื่อเพิ่มเงินเดือนหรือ พัฒนาตัวเองเพื่อแสวงหาความท้าทายใหม่ๆ ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดการย้ายแรงงานแบบ ข้ามสายงานในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เมื่อมีการเปลี่ยนงานย้ายงานเยอะ การเปิดรับสมัครงานเพื่อสรรหาคนเก่งเข้าร่วมองค์กรย่อมสูงขึ้นตาม และนั่นคือความท้าทายครั้งใหญ่ของ HR เพราะการหาคนทำงานในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิมที่เต็มไปด้วยขั้นตอนซับซ้อน เอกสารมากมาย จุกจิกกฎเกณฑ์เยอะ ใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน
การรับสมัครงานของ HR องค์กรยุคใหม่แบบ Agile ที่เน้นการทำงานที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ จึงเริ่มมองหาเทคโนโลยีต่างๆ มาเพื่อแก้ปัญหาจากวิธีการรับพนักงานแบบเดิมๆ และลดค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคลากรมากขึ้น..และนี่คือ 3 เทคนิคในการสรรหาคนที่กำลังมาแรงที่สุดในยุคนี้!!
1. ประกาศงานให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย (Targeting job ads)
หมดยุคการหางานแบบ ‘หว่าน’ ให้คนเห็นเยอะๆ ไว้ก่อนอีกต่อไป ณ วันนี้ทุกโพสท์ทุกช่องทางที่ HR ใช้หาบุคลากร ล้วนถูกปรับแต่งเพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ หรือ social media ช่องทางต่างๆ
การทำการตลาด Re-targeting ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่น่าจะใช่ที่สุด ออกแบบข้อความที่ใช้สื่อสารให้อ่านแล้วใช่อ่านแล้วโดน (ไม่ต่างจากการยิงโฆษณาบน Facebook) กลายเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับหลายองค์กร
2. ใช้แบบทดสอบเพื่อประเมินผู้สมัคร (Candidate Assessment and Testing Software)
เพราะ “เรซูเม่ ไม่สามารถบอกคุณได้(ทั้งหมด)” และตำแหน่งงานใหม่ๆ เกิดขึ้นมหาศาล แบบประเมินผู้สมัครจึงเกิดขึ้นเพื่อทดสอบทัศนคติและเรื่องที่เป็นนามธรรมของผู้สมัคร อาทิเช่น
แบบทดสอบเหล่านี้ช่วยผู้จ้างงานให้เข้าใจผู้สมัครงานในหลากหลายมิติได้อย่างละเอียดขึ้นก่อนทำการจ้างงาน และเป็นการพิสูจน์ไปในตัวว่าสิ่งที่เขียนในเรซูเม่เป็นความจริง จากผลการทดสอบของ Criteria Pre-Employment Testing ระบุว่า กว่า 78% ของสิ่งที่เขียนในเรซูเม่ ไม่ตรงกับความเป็นจริง
อีกทั้งยังลดความอคติ (Bias), ระบุช่องทางต่อยอดทักษะผู้สมัครคนนั้นๆ (Skills Gap) หรือ ดูว่าผู้สมัครคนนั้นมีความเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรหรือไม่ (Cultural Compatibility) นอกจากนี้ มีการนำ “AI Chatbot” มาช่วยประเมินศักยภาพของผู้สมัครงาน ซึ่งช่วยลดทรัพยากรบุคคลและต้นทุนเวลา AI Chatbot เหล่านี้ถูกพัฒนาให้มีความเข้าใจในมนุษย์และใช้ภาษาอย่างธรรมชาติไม่ต่างจากเวลาเราคุยกับคนจริงๆ ซึ่งสร้างประสบการณ์การสมัครงานที่ดีแก่ผู้สมัครงานได้